ประวัติส้มตำ


ประวัตินะจ้ะ



         เดิมทีมะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง ต่อมายุคต้นกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสและสเปนได้นำมาเพาะปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงเวลาใกล้ๆกันชาวฮอลันดาก็ได้นำพริกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยในเวลาต่อมา

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทูตชาวฝรั่งเศส นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) และ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ได้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา และกล่าวในเวลานั้นไว้ว่า มะละกอได้กลายมาเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และยังได้กล่าวถึง มะนาว มะม่วง กระเทียม ปลาร้า ปลากรอบ กุ้งแห้ง กล้วย น้ำตาล พริกไทย แตงกวา ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนนำมาเป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้

ในภาษาลาวเรียกส้มตำว่า ตำบักหุ่ง หรือ ตำหมากหุ่ง (หมากหุ่งหมายถึงมะละกอ) ในบางครั้งเรียกว่า ตำส้ม คำว่า ส้ม ในภาษาไทยแปลว่า เปรี้ยว คำว่า ส้มตำ จึงเป็นคำในภาษาไทยที่ถูกนำมาเรียกโดยคนลาว เครื่องปรุงทั่วไปของส้มตำลาวจะคล้ายคลึงกับส้มตำไทย ประกอบไปด้วยมะละกอสับเป็นเส้น ผงนัว (ผงชูรส) หมากเผ็ด (พริก) เกลือ กระเทียม น้ำปลา น้ำตาล น้ำปลาแดก (น้ำปลาร้า) หมากถั่ว (ถั่วฝักยาว) หมากนาว (มะนาว) และอื่น ๆ ในบางพื้นที่นิยมใช้กะปิแทนปลาแดกและใส่เม็ดกระถินด้วย นอกจากนี้บางพื้นที่มีการใส่ปูดิบและน้ำปูลงไปด้วย

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม